กำ ลัง
Blog Image

7 อุปกรณ์เซฟตี้ ที่ต้องใช้

ความปลอดภัยถือเป็นปัจจัยแรกๆ ของการทำงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่การทำงานนอกสถานที่ และงานที่ใช้อุปกรณ์เครื่องมือช่าง หรือเครื่องจักร ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ การมีอุปกรณ์เซฟตี้ หรือ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPE) ในการทำงาน

ทำไมต้องใช้อุปกรณ์เซฟตี้?
ก่อนที่จะทราบว่าอุปกรณ์เซฟตี้พื้นฐานมีอะไรบ้าง เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทำไมถึงต้องมีอุปกรณ์เซฟตี้ไว้ใช้ในโรงงาน โดยเหตุผลที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เซฟตี้คือ
1.เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้เครื่องจักร หรือ เครื่องมือช่างบางประเภทที่อาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว หรืออันตรายที่เกิดจากความไม่ชำนาญของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายได้มากขึ้น และลดความรุนแรงของอันตรายที่เกิดขึ้นให้เบาลงอีกด้วย
2. อวัยวะต่างๆในร่างกายมีความเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็น มือ เท้า หู ตา หลัง หรือแม้แต่ทางเดินหายใจ ดังนั้น อุปกรณ์เซฟตี้จะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ จากการทำงาน หรือการใช้เครื่องจักร

7 อุปกรณ์เซฟตี้ที่จำเป็นต่อการทำงาน
1. รองเท้าเซฟตี้ 
รองเท้าเซฟตี้ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญไม่น้อย ทั้งการทำงานในโรงงาน คลังสินค้า หรืองานที่มีการใช้เครื่องมือช่าง เพราะช่วยป้องกันครอบคลุมงานได้หลายประเภท แบ่งได้ตามลักษณะ ดังนี้
รองเท้าเซฟตี้ สำหรับป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า
รองเท้าเซฟตี้ แบบหัวเหล็ก ใช้สำหรับป้องกันการโดนกระแทก ของหนักตกใส่เท้า หรือป้องกันการเหยียบตะปูหรือสิ่งของมีคมต่างๆ 
รองเท้าเซฟตี้ สำหรับป้องกันสารเคมี ใช้สำหรับงานที่มีความเสี่ยงสัมผัสกับสารเคมีเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี
2. ถุงมือ
สำหรับถุงมือเซฟตี้จะมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งาน สามารถเลือกให้เหมาะกับการใช้งานได้ โดยถุงมือเซฟตี้จะมีรูปแบบหลักๆดังนี้
ถุงมือกันความร้อน เหมาะสำหรับงานที่ต้องสัมผัสอุปกรณ์ที่มีความร้อนสูง
ถุงมือยางป้องกันสารเคมี เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวกับสารเคมีต่างๆ
ถุงมือกันบาด เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับสิ่งของมีคม
ถุงมือป้องกันไฟฟ้า ถือได้ว่าสำคัญต่อการทำงานมากทีเดียว เพราะถุงมือป้องกันไฟฟ้านั้นจะช่วยป้องกันในขณะที่ต้องจับหรือสัมผัสกับอุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ซึ่งอันตรายต่อชีวิตได้
3. หมวกนิรภัย
หมวกนิรภัยจำเป็นสำหรับทั้งโรงงานใหญ่ และการทำงานนอกโรงงาน เช่น งานก่อสร้าง โดยหมวกนิรภัยนั้นจะคอยช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับศีรษะจากการตกหล่นของอุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆ ที่สามารถตกใส่ศีรษะในระหว่างการทำงานได้
4. แว่นตานิรภัย
อุปกรณ์ที่จะช่วยป้องกันดวงตาจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเชื่อม งานที่ต้องเสี่ยงต่อสภาวะแสดงรุนแรง งานที่เกิดฝุ่น สารระเหย ที่อาจเป็นอันตรายต่อดวงตา ที่สำคัญควรเลือกแว่นตาที่มีความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล เช่น ANSI,CE เป็นต้น
5. ที่อุดหู ครอบหู
ที่อุดหู หรือบางคนจะเรียกว่า ปลั๊กอุดหู เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่มีความสำคัญในการปกป้องหูจากระดับเสียงที่สูงเกินมาตรฐานที่หูคนจะรับได้ ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อแก้วหู ซึ่งการทำงานในโรงงาน หรือการใช้อุปกรณ์เครื่องมือบางชนิด อาจก่อให้เกิดเสียงดังเกิดค่ามาตรฐาน โดยที่อุดหูสามารถลดความดังของเสียงได้อย่างน้อย 15 เดซิเบล ส่วนที่ครอบหู สามารถลดระดับเสียงได้อย่างน้อย 25 เดซิเบล
6. หน้ากาก
อีกหนึ่งอุปกรณ์เซฟตี้ที่ขาดไม่ได้ คือ หน้ากาก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เนื่องจากลักษณะของงานหลายๆ  งาน ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือสารระเหยที่เป็นพิษต่อร่างกาย การสวมใส่หน้ากากขณะทำงานทุกครั้งจะช่วยดักกรองฝุ่น ควัน สารเคมี และลดความเสี่ยงต่ออันตรายต่อทางเดินหายใจได้
7. เข็มขัดพยุงหลัง
อุปกรณ์เซฟตี้อย่างสุดท้ายมีความจำเป็นต่อการใช้ในโรงงาน หรืองานยกของหนัก เพราะเข็มขัดพยุงหลังจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการบาดเจ็บที่บริเวณหลังได้ โดยการเจ็บปวดที่หลังอาจเกิดจากการยกของหนักด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง หากไม่มีการป้องกัน และทำงานในลักษณะเดิมๆ อาจจะเกิดอันตรายที่รุนแรงและเรื้อหลังให้กับหลังได้

จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์เซฟตี้เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะงานโลหะ งานคลังสินค้า หรือแม้แต่การทำงานเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ซึ่งอุปกรณ์เซฟตี้เหล่านี้เป็นตัวช่วยในการลดอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงาน หรือความผิดพลาดการใช้เครื่องมือ เพราะงั้นแล้วอุปกรณ์เซฟตี้จำเป็นที่จะต้องมีติดทุกโรงงานนั่นเอง