ในยุคของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักร เป็นหัวใจสำคัญ การที่เครื่องจักรหยุดชะงัก อาจจะให้เกิดการ Downtime ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อบริษัท การนำ OEE (Overall Equipment Efficency) และ OLE (Overall Labor Effectiveness) เข้ามาใช้ในการผลิตถือว่าเป็นเรื่องที่หลายๆองค์กรควรเริ่มต้น และให้ความสำคัญ บทความนี้ทางเรามุ่งเน้นไปที่การอธิบาย OEE และ OLE ให้เข้าใจความหมาย และความแตกต่างของสองคำนี้
OEE (Overall Equipment Efficiency) คือ การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร เป็นการบอกประสิทธิผลของการผลิต หรือความสามารถในการผลิตของโรงงานโดยรวม ซึ่ง OEE เป็นเป้าหมายสำคัญที่จะพัฒนาการผลิต รู้สาเหตุที่เกิดขึ้น และปรับปรุงแก้ไขลดของเสียที่เกิดขึ้นได้เหมาะสม กรณีโรงงานไหนสามารถทำ OEE ได้ 100% แสดงว่าโรงงานนั้นมีประสิทธิผลการผลิตดีมาก ไม่มีข้อผิดพลาดใดๆเลย ส่วนมาตรฐานสากลจะอยู่ที่ 85%
เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการผลิต OEE
100% ถือว่าเป็นการผลิตที่สมบูรณ์แบบ เป็นการผลิตที่มีคุณภาพ รวดเร็ว ไม่มีปัญหาการหยุดทำงานเครื่องจักร
85% ถือว่าเป็นระดับสากล สำหรับผู้ผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง และเป็นเป้าหมายระยะยาวของหลายๆบริษัท
60% ระดับนี้ถือเป็นระดับปกติสำหรับผู้ที่ผลิตไม่ค่อเนื่อง แต่ยังบ่งชี้ว่ายังมีช่องว่าที่ต้องปรับปรุงอยู่
40% ระดับนี้ถือว่าต่ำ สำหรับองค์กรที่เริ่มติดตาม และปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิต ในกรณีที่คะแนนต่ำ สามารถปรับปรุงมาตรฐานได้ง่าย เช่น ติดตามการหยุดทำงานของเครื่องจักร และ จัดการกับสาเหตุที่ทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน
OLE (Overall Labor Effectiveness) คือ การวัดตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) ที่วัดประสิทธิภาพ และคุณภาพของแรงงาน ที่มีผลต่อการผลิต เช่นเดียวกับประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร OEE ที่จะวัดความพร้อมใช้งาน ประสิทธิภาพ และคุณภาพการผลิต OLE ช่วยให้องค์กรและผู้ผลิต สามารถตัดสินใจในการปฏิบัติงานโดยให้ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบ และปัจจัยด้านกำลังคนที่มีผลผลิต ในขณะที่พิจารณาผลกระทบของแรงงานทั้งทางตรง และทางอ้อม OLE สนับสนุนวิธีการแบบ Lean และ Sigma นำไปใช้กับกระบวนการจัดการกำลังคน ทำให้ผู้ผลิตสามารถทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำซ้ำได้ และสร้างผลกระทบน้อยลง
OEE และ OLE ต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างระหว่าง OEE และ OLE จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ตัวเป็นการวัดที่เหมือน แต่ต่างกันที่ OEE วันประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ทำให้รู้ว่าประสิทธิผลของเครื่องจักร และรู้สาเหตุของความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในการผลิต ส่วน OLE จะเป็นการวัดประสิทธิภาพแรงงานโดยรวม คือผลสำเร็จหรือความคุ้มค่า ความทันเวลา และคุณภาพทั้งหมดในกระบวนการผลิต
การวัด OEE และ OLE ประกอบไปด้วย 3 ส่วน
1. Availability (ความพร้อมใช้งาน)
- OEE ความพร้อมของเครื่องจักรในการทำงาน ระยะเวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงาน การตรวจสอบปรับปรุง บำรุงรักษาซ่อมแซมเครื่องจักร หรือความล้มเหลวของเครื่องจักรที่สูญเสียไปเนื่องจากความไม่พร้อมใช้งานจะเรียกว่า Availbality loss
- OLE ความพร้อมใช้งานของกำลังคน มีปัจจัยที่หลากหลายที่มีอิทธิพล ดังนั้น OLE จึงสามารถช่วยองค์กรคัดเลือกกำลังคนว่าพวกเขามีทักษะที่เหมาะสมในการทำงาน และยังสามารถจัดตารางเวลาของพนักงานที่เหมาะจะช่วยเพิ่มจำนวนชั่วโทงการผลิตได้
2. Performance (ประสิทธิภาพ)
- OEE ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร การคำนึงถึงความสูญเสียประสิทธิภาพ การหยุดชะงักเล็กๆน้อยๆ ความเร็วในการผลิตลดลงเรียกว่า Performance Loss
- OLE ประสิทธิภาพการทำงาน หากพนักงานไม่ปฏิบัติงานในเวลาที่กำหนดได้ ประสิทธิภาพการทำงานก็จะลดลง การวัดด้วย OLE สามารถระบุโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
3. Quality (คุณภาพ)
- OEE คุณภาพของสินค้า สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพไหม กำหนดจากระบบ QA/QC ในโรงงาน เป็นการบอกปริมาณสินค้าว่ามีคุณภาพกี่ % จากปริมาณ การคำนึงความสูญเสียคุณภาพ พิจารณาจากชิ้นงานที่ไม่ตรงตามมาตรฐานคุณภาพ เรียกว่า Quality Losses
- OLD การวัดคุณภาพ ตัวขับเคลื่อนมีส่วนสนับสนุนคุณภาพการผลิต แต่ในการปรับปรุงคุณภาพอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพแรงงานลดลง เมื่อสร้างความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับคุณภาพ OLE สามารถช่วยองค์กรวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงาน และกำหนดว่าพนักงานแต่ละคนมีประสิทธิผลมากสุด จากนั้นระบุการดำเนินการแก้ไขเพื่อให้การปฏิบัติที่มาของข้อมูล OLE ประสิทธิภาพแรงงานโดยรวม
แน่นอนว่าทุกโรงงานการผลิตหรืออุตสาหกรรม ปัจจัยที่ทำให้ค่า OEE ลดลง จะเกิดจากสภาพของเครื่องจักรที่ไม่สมบูรณ์ และสิ่งที่แย่ที่สุดเลยก็คือ การหยุดเพื่อบำรุงรักษาบำรักษาเครื่องจักร ทำให้เสียโอกาสการผลิต ที่ทำได้ก็คือใช้ OEE และ OLE เข้ามาช่วยวิเคราะห์เพื่อไม่ให้เครื่องจักรเกิดความเสียหาย หรือไม่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้ค่า OEE ลดลงตามไปด้วย ท้ายสุดนี้การทำ OEE และ OLE ให้มีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง โดยหมั่นตรวจเช็คสาเหตุเพื่อปรับปรุงความเสียหายที่เกิดขึ้นได้