ภาวะ Burnout Syndrome เป็นภาวะที่พบบ่อยในคนกลุ่มวัยทำงาน เปรียบเสมือนเปลวไฟที่กำลังจะดับ หมายถึง พนักงานรู้สึกเบื่อหน่ายกับงานที่ทำ หมดกำลังใจในการทำงาน ไปจนถึงความรู้สึกที่อยากลาออกจากงานเพื่อไปหาองค์กรใหม่ที่มีความท้าทายมากกว่า
สาเหตุที่พนักงานหมดไฟในการทำงาน
เชื่อว่าหลายๆคน คงจะคุ้นหูกับคำว่า การหมดไฟ ซึ่งเป็นภาวะที่คนวัยทำงานไม่น้อยเลยที่กำลังเจอกับภาวะนี้อยู่ ซึ่งดูๆแล้วเหมือนจะไปเป็นปัญหาอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อพนักงานหมดไฟ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพของงานโดยตรง หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจส่งผลต่อภาพรวมขององค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่จำนวนพนักงานหมดไฟเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงมีหน้าที่สำคัญในการดูแลช่วยเหลือพนักงานที่หมดไฟ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานห่างไกลจากภาวะหมดไฟ และช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรอีกด้วย ซึ่งสาเหตุที่พนักงานหมดไฟในการทำงาน พนักงานหมดไฟในการทำงานมีสาเหตุหลักๆ มาจาก 3 สาเหตุหลักๆดังนี้
งานเยอะเกินไป Overload Burnout
การหมดไฟแบบ Overload Burnout มักพบได้ในกลุ่มงานที่ทำงานหนักมาก และต้องรับภาระงานหลายอย่างเกินไป จนไม่สามารถควบคุมคุณภาพของงานให้ลงตัวได้ เมื่อต้องรับภาระงานที่ยากจนเกินที่จะบริหารได้ ก็จะเกิดความเครียด วิตกกังวล และร่างกายเหนื่อยล้าจากการต้องทำงานอย่างหนัก จนกลายเป็นภาวะหมดไฟ ที่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานด้วยกัน อาจเสียกำลังใจในการทำงาน และเกิดภาวะหดไฟตามๆกันไป
ไม่มีความท้าทายใหม่ๆ Under-Challenged Burnout
กระบวนการนี้จะเกิดจากการที่พนักงานได้ทำแต่งานเดิมๆซ้ำไปซ้ำมา หากมอบงในแง่ดีก็จะถือว่าพนักงานคนนั้นชำนาญในสิ่งที่ทำอยู่ แต่ขณะเดียวกัน หากงานนั้นไม่มีสิ่งแปลกใหม่หรือท้าทายความสามารถของพนักงาน หรือไม่ได้มีอะไรใหม่ๆให้เรียนรู้หรือพัฒนาตนเอง ก็อาจทำให้พนักงานคนนั้นรู้สึกไร้เป้าหมาย และเบื่องานที่ทำอยู่ จนไปถึงอาการหมดไฟในท้ายที่สุด
ถูกมองข้าม Neglect Burnout
แม้ว่าจะตั้งใจและทุ่มเทกับงานมาก แต่พนักงานคนนั้นมักจะถูกมองข้ามจากเพื่อนร่วมงาน ถูกองค์กรละเลยในสิ่งที่พนักงานทำ ทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองไม่มีตัวตน ไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน และไม่มีบทบาทสำคัญต่อองค์กร จนเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานนั่นเอง
HR ควรทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดไฟ
เมื่อพบว่าพนักงานหลายๆคนในบริษัทกำลังหมดไฟ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพรวมของบริษัท ทีมที่มีหน้าที่ดูแลทรัพยากรบุคคลอย่างทีม HR จึงมีหน้าที่ดูแลพนักงานเพื่อลดภาวะหมดไฟที่คนเหล่านั้นกำลังพบเจอ ส่วนวิธีการแก้ไปหา มีดังต่อไปนี้
1. ให้คำแนะนำ/ให้คำปรึกษา
พนักงานที่หมดไฟในการทำงาน ส่วนมากจะมาจากขาดความรู้สึกที่มีคนเข้าใจ หรือคนรับฟัง ซึ่งฝ่าย Hr สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ด้วยการพูดคุย รับฟังปัญหาที่เจอ ลองให้คำแนะนำใหม่ๆที่จะทำให้การทำงานง่ายขึ้น
2. ช่วยจัดการงานให้เป็นระบบมากขึ้น
หากพนักงานกำลังประสบปัญหา Work Overload งานเยอะจนไม่สามารถรับมือได้ และมีแนวโน้มที่หมดไฟ บริษัทสามารถเข้ามาช่วยเหลือได้โดยอาจจะเพิ่มช่วงเวลาให้พนักงานได้ Relax จากการทำงาน หรือกรณีงานไม่สมดุลกับพนักงาน ก็อาจจะจ้างพนักงานเข้ามาเพิ่มเพื่อให้งานดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น
3. เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็น
หากมีกิจกรรมนี้ก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับพนักงาน และยังทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วม ได้รับการยอมรับจากคนในองค์กร ทำให้พนักงานคนนั้นมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย
4. สนับสนุนให้มีความสัมพันธ๋กับคนในทีม
เมื่อทุกคนในทีมมีความสามัคคีกันก็จะช่วยให้ทำงานกันเป็นทีมมากขึ้น องค์กรอาจจะช่วยด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานให้กับพนักงานในองค์กร วิธีการนี้จะช่วยลดโอกาสที่พนักงานจะเบื่อหน่ายกับงาน ในทางกลับกันจะช่วยให้อยากมาทำงานเพิ่มขึ้นด้วย
5. สร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน
การที่บริษัทมีสวัสดิการที่ดี ก็หมายถึงมีการทำงานที่ดีเช่นกัน สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความสุขให้กับการทำงานของพนักงานได้ เช่น การซื้อสินค้าของบริษัทในราคาพิเศษ สวัสดิการอาหารพนักงาน ท่องเที่ยวประจำปี เป็นต้น
การแก้ไขปัญหา Burnout เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับองค์กร เมื่อพนักงานมีความสุข มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่น นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสในการรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพเอาไว้กับองค์กรได้มากขึ้นอีกด้วย