ไขคำตอบ!
PM หรือ Preventive Maintenance คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เป็นหนึ่งในรูปแบบการดูแลสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในโรงงาน ที่ใช้การตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ตามเวลาที่มีการกำหนดเอาไว้
ยกตัวอย่าง ชิ้นส่วนอุปกรณ์ A มีอายุการใช้งานขั้นต่ำอยู่ที่ 4,500 ชั่วโมง แผนการทำ Preventive Maintenance คือการเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ A ภายใน 4,400 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต แม้ว่าในความเป็นจริง ชิ้นส่วนอุปกรณ์ A จะสามารถใช้ได้มากกว่า 4,500 ชั่วโมงก็ตามที
ข้อดี
ทำให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การใช้งาน Preventive Maintenance ทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนระยะยาวในการใช้งาน คนในโรงงานรับรู้ว่าอุปกรณ์ใดควรเปลี่ยนเวลาไหน หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากอายุการใช้งาน รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์ที่หมดระยะเวลาประกันได้
ประหยัดค่าใช้จ่าย Preventive Maintenance ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้ส่งผลกระทบต่องานและต้นทุนโดยรวมได้ อีกทั้งยังส่งผลให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานได้อย่างยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย
ข้อเสีย
ข้อมูลไม่ Real-Time สิ่งที่เป็นจุดด้อยมากที่สุดสำหรับ Preventive Maintenance คือปัจจัยด้าน “เวลา” เนื่องจากความเป็นแผนงานที่ตรงไปตรงมา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้การบำรุงรักษาอุปกรณ์บางประเภท ช้าเกินไป หรือเร็วเกินไป อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันกรณีเครื่องจักรเสียหายแบบไม่คาดคิดได้ด้วย
ใช้เวลาในการบำรุงรักษามากพอสมควร เนื่องจาก Preventive Maintenance จะมีการทำงานตามตารางเสมอ ทำให้ทางโรงงานต้องมีการแบ่งเวลามาทำงานในการบำรุงรักษา ซึ่งบางครั้งเราก็จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือซ่อมแซมทั้งๆ ที่เครื่องจักรไม่มีปัญหาใดๆ
Preventive Maintenance เป็นหนึ่งในกระบวนการบำรุงรักษาในอุตสาหกรรมที่ทุกโรงงานควรให้ความสนใจเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเบื้องต้น ก่อนเข้าสู่ระบบ Predictive Maintenance ที่ปัจจุบันกรรมวิธีนี้สามารถทำได้สะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้นด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนายช่าง .net เข้ามาช่วยทำให้สามารถวางแผนงาน PM หรือตรวจสอบงานซ่อมอื่นๆได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มความแม่นยำในการประเมินและการบำรุงรักษายิ่งขึ้นไปอีก